รายงานการสำรวจพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น พืชถูกคุกคาม และชนิดที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ ที่พบในพื้นที่แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน

รายงานการสำรวจพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น พืชถูกคุกคาม และชนิดที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์  ที่พบในพื้นที่แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน
  • ชื่อเอกสาร: endemic species in corridor between KKC and KB national parks
  • เอกสาร: พร้อมดาวน์โหลด
  • รายงานการสำรวจพืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น พืชถูกคุกคาม และชนิดที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ ที่พบในพื้นที่แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้บริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน โดยพื้นที่แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแห่งนี้ เป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการจัดการในลักษณะป่าอนุรักษ์ ตั้งอยู่ระหว่างอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

ผลการศึกษาพบพรรณไม้ชนิดที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และพืชถิ่นเดียว จำนวน 49 ชนิด 29 วงศ์ เช่น จำปีเพชร (Magnolia mediocris (Dandy) Figlar) โมลีสยาม (Reevesia pubescens Mast. var. siamensis (W. G. Craib) J. Anthony) ปุดเต็ม (Geostachys smitinandii K. Larsen) โมกเครือ (Kamettia chandeei D. J. Middleton) และพบสนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. & de Vriese) ปรากฏในพื้นที่ซึ่งนับว่าเป็นสนสองใบที่ขึ้นอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบพรรณพืชที่ยังไม่มีรายงานการพบในประเทศไทย 1 ชนิด ในวงศ์ลำไย (Sapindaceae) สกุลชำเลียง (Lepisanthes)

คำสำคัญ : แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ  กลุ่มป่าแก่งกระจาน พืชหายาก พืชเฉพาะถิ่น