พันธกิจของศูนย์


พันธกิจของศูนย์

การบริหารงานภายใน

เพื่อให้ภาระกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงและเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ สถานีศึกษาการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติทางบก จังหวัดเพชรบุรี ได้ใช้โครงสร้างการบริหารงานเดิมของศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้แบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้


1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
    มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
        1.1 ปฏิบัติงานด้านสารบรรณ
        1.2 ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี บุคลากร และพัสดุของศูนย์ฯ
        1.3 ควบคุมดูแลอาคารสถานที่ ยานพาหนะ และครุภัณฑ์
        1.4 สนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


2. ฝ่ายศึกษาและวิจัย

มีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษา วิจัย และสำรวจ รวบรวมข้อมูลทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมทั้งการสำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และประเมินสถานภาพของทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ ทั้งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และธรรมชาติ เพื่อการจัดการ ควบคุม ฟื้นฟูทรัพยากร และป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็นงานด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 งานวิจัยสัตว์ป่า
2.2 งานวิจัยพรรณพืชและนิเวศวิทยาป่าไม้
2.3 งานสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
2.4 งานวิจัยนันทนาการและการท่องเที่ยว
2.5 งานวิจัยชุมชน
2.6 งานโครงการพิเศษ


3. ฝ่ายประชาสัมพันธ์

มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ด้านวิชาการ และข่าวสารของศูนย์ฯ และปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย


4. ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
4.1 สนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ตามที่ได้รับการประสาน
4.2 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


หน้าที่ (ตามกรอบภาระกิจของศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี)

1. ศึกษา วิจัย และสำรวจ รวบรวมข้อมูลทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการพื้นที่
2. สำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และประเมินสถานภาพของทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ ทั้งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และธรรมชาติ เพื่อการจัดการ ควบคุม ฟื้นฟูทรัพยากร และป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
3. ส่งเสริม เผยแพร่ ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
4. ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย โดยจะรับผิดชอบดำเนินการในกลุ่มอุทยานแห่งชาติทางบกภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน 17 แห่ง ได้แก่


1). อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน         จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
2). อุทยานแห่งชาติกุยบุรี         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3). อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4). อุทยานแห่งชาติเขาแหลม         จังหวัดกาญจนบุรี
5). อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์     จังหวัดกาญจนบุรี
6). อุทยานแห่งชาติลำคลองงู         จังหวัดกาญจนบุรี
7). อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์     จังหวัดกาญจนบุรี
8). อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ         จังหวัดกาญจนบุรี
9). อุทยานแห่งชาติไทรโยค         จังหวัดกาญจนบุรี
10). อุทยานแห่งชาติเอราวัณ         จังหวัดกาญจนบุรี
11). อุทยานแห่งชาติพุเตย             จังหวัดสุพรรณบุรี
12). อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี
13). อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง     จังหวัดระยอง จันทบุรี
14). อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ         จังหวัดจันทบุรี
15). อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว         จังหวัดจันทบุรี
16). อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น         จังหวัดจันทบุรี
17). อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว     จังหวัดตราด