การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในกลุ่มป่าแก่งกระจาน ภายหลังการขึ้นทะเบียนมรดกอาเซียน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

  • การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในกลุ่มป่าแก่งกระจาน ภายหลังการขึ้นทะเบียนมรดกอาเซียน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ภายหลังการขึ้นทะเบียนมรดกอาเซียน : อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ดําเนินการโดยการแปลภาพถ่ายดาวเทียมจําแนกสังคมพืชและการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกอาเซียน และปี พ.ศ. 2558 ทําการตรวจสอบความถูกต้องทางภาคสนามในระดับสูง และวิเคราะห์ข้อมูลความเปลี่ยนแปลง และคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อนําข้อมูลไปใช้ในการวางแผนป้องกันและการจัดการพื้นที่

ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในหลายบริเวณ โดยเฉพาะไร่สับปะรด รวมทั้งที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการขยายตัวของชุมชนที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ เช่น บ้านป่าหมาก และพื้นที่โดยรอบแนวเขต มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นจํานวนมาก

ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการดูแลเนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอนุญาตอื่นของทางราชการ แนวโน้มดังกล่าวได้นํามาสร้างภาพฉายในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า ด้วยวิธีการทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าหากยังคงจัดการพื้นที่ด้วยวิธีการเดิมในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มของพื้นที่ป่าจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงจําเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการในการจัดการโดยเพิ่มกลยุทธ์ใหม่ๆ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ครั้งนี้ประกอบการพิจารณามาตรการและพื้นที่เป้าหมาย

นอกจากนี้แล้วยังแสดงให้เห็นว่าชุมชนโดยรอบและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทั้งจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่และนอกพื้นที่ไม่ได้ตระหนักหรือให้ความสนใจต่อการเป็นมรดกอาเซียนมากนัก จึงควรที่จะมีแผนงานส่งเสริมความตระหนักถึงความสําคัญของพื้นที่อนุรักษ์ในระดับสากลให้มากกว่านี้